ลด 16%

฿329 ฿390
ประเภทหนังสือ : อีบุ๊ก
ผู้แต่ง : ศรัญญู เทพสงเคราะห์
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
ISBN : 9789740216650
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 410
ขนาดไฟล์ : 37.44 MB
หลังการปฏิวัติ 2475 คณะราษฎรได้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นในสยามประเทศ เพื่อคืนอำนาจอธิปไตยสู่ราษฎรผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง แต่ทว่า ช่วงเวลาหลังการปฏิวัติ การเมืองไทยผันผวน คณะราษฎรและระบอบประชาธิปไตยถูกโจมตี ถูกบั่นทอน จากฝ่ายอนุรักษนิยม จนทำให้อำนาจที่เคยอยู่ในมือราษฎรค่อยๆ หายไป พร้อมๆ กับความทรงจำของสังคมที่ถูกตัดต่อ ลดทอน และทำลาย กระทั่งผ่านมา เกือบ 90 ปี ไม่มีใครจำได้อีกแล้ว ว่าสังคมยุคหลังการปฏิวัติ 2475 ที่เป็นประชาธิปไตย หน้าตาเป็นอย่างไร? "ศรัญญู เทพสงเคราะห์" นักประวัติศาสตร์ผู้ใช้เวลาอยู่กับบันทึก หนังสือ เอกสาร และรูปภาพเก่า ค่อยๆ เรียงร้อยความทรงจำยุคประชาธิปไตย ออกมาเป็นหนังสือรวมบทความเล่มนี้ ที่จะรื้อฟื้นความทรงจำ ปะติดปะต่อภาพที่ขาดวิ่นของอดีต และส่งมอบหน้าประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าให้แก่สังคม ผ่าน 6 บทความในเล่ม ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจถึง "การต่อสู้เพื่อสถาปนาความหมาย คุณค่าและความทรงจำต่อระบอบประชาธิปไตยในยุคคณะราษฎร" สารบัญ ภาคที่ 1 สำนึกใหม่หลังการปฏิวัติสยาม - มองสำนึกพลเมืองยุคคณะราษฎรผ่านอนุเสารีย์รัฐธรรมนูญในอีสาน - กลอนลำรัฐธรรมนูญมหาสารคาม พ.ศ.2477 ภาค 2 อำนาจและสถาบันอำนาจ - โทษประหารชีวิตหลังการปฏิวัติ 2475 แนวคิด การเมือง และข้อถกเถียงในการลงทัณฑ์ ด้วยความตายของรัฐไทย พ.ศ.2475-2499 - โรงเรียนฝึกอาชีพ พื้นที่ควบคุมเด็ก ในสถาบันราชทัณฑ์ไทย พ.ศ.2479-2501 ภาค 3 อนุเสารีย์และความทรงจำ - อนุเสารีย์ปราบกบฎ จากจุดเริ่มต้นสู่การอันตรธาน พ.ศ.2476-2561 - การเมืองเรื่องอนุสาวรีย์พระปกเกล้าฯ กับการช่วงชิงความทรงจำว่าด้วยประชาธิปไตยไทยหลักการรัฐประหาร พ.ศ.2494 คำนิยม ความทรงจำร่วมทางสังคมมีแต่เรื่องราวแห่งมหาบุรุษที่ถูกสร้างขึ้นราวกับไม่มีสามัญชน และการให้เกียรติแก่ผู้คนนอกศูนย์กลางเท่าที่ควร รวมทั้งยังตอกย้ำมายาคติที่ว่า "การปฏิวัติ 2475 เป็นการชิงสุกก่อนห่าม" คนไทยยังไม่มีความพร้อมต่อระบอบประชาธิปไตย คนอีสานเป็นคนเฉื่อยชาทางทางเมือง หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ "สงคราม" ของความทรงจำ แต่คือ ความพยายาม "คืนความทรงจำ" ที่มีคุณค่าของสังคม -- ณัฐพล ใจจริง --

เขียนรีวิว

โปรดเข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียนเพื่อรีวิว
หนังสือที่เกี่ยวข้อง