รัฐ-ธรรม-นัว
ลด 19%
฿179 ฿220
ประเภทหนังสือ :
อีบุ๊ก
ผู้แต่ง : วิจักขณ์ พานิช
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
ISBN : 9789740214311
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 322
ขนาดไฟล์ : 6.34 MB
ผู้แต่ง : วิจักขณ์ พานิช
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
ISBN : 9789740214311
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 322
ขนาดไฟล์ : 6.34 MB
รัฐ-ธรรม-นัว
ข้อคิด ความเห็นที่ชี้ชวนให้สัมผัสคุณค่างทางจิตวิญญาณแบบโลกย์ๆ ธรรมที่มีความเป็นธรรม และศาสนธรรมแห่งมนุษยธรรม
ผู้เขียน วิจักขณ์ พานิช
รวมบทความของ "วิจักขณ์ พานิช" นักคิดยุคใหม่ที่มองสังคมไทยในภาพรวมได้อย่างถึงแก่น จากคอลัมน์ "ธรรมนัว" ในหนังสือพิมพ์มติชน จำนวน 57 ตอน เจาะประเด็นเกี่ยวกับค่านิยม ความหมาย ทัศนคติ และปรากฏการณ์ทางสังคมโดยเฉพาะการเมืองไทยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ด้วยการใช้ "ธรรมะ" และ "พุทธศาสนา" มาจับประเด็น กะเทาะโฉมผู้มีอำนาจร่วมมือกับกลุ่มคนชั้นกลางเพื่อเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ตรงข้ามกับเสียงส่วนใหญ่ เจาะลึกความเป็นไปของผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ท่ามกลางกระบวนการบางอย่างในนามของความดีและคุณธรรมที่อิงแอบสถาบันหลักของชาติ
ขณะที่ประเด็นหลักของหนังสือไม่ลืมเน้นถึงเรื่องธรรมะ ยิ่งเมื่อภาวะทางการเมืองผันแปรไปตามบทบาทของผู้เป็นใหญ่ บทบาทของพุทธศาสนานั้นย้อนแย้งหรือเนื่องหนุนกับอำนาจดังกล่าวอย่างไร เหตุใดเมืองพุทธอย่างประเทศไทยจึงไม่อาจขับเคลื่อนได้ด้วยแก่นแท้ของธรรมะ ขณะที่ผู้มีอำนาจ มวลชนเสียงข้างน้อยที่มีพลัง กลับใช้ประโยชน์จากพุทธศาสนาในทางตรงข้ามกับพุทธะ ร้ายยิ่งกว่าคือการที่อำนาจการเมืองได้ใช้ผ้าเหลืองเป็นเครื่องมือในการปกป้องตนเอง นับเป็นบทความคุณภาพที่มองการเมือง-สังคมผ่านพุทธศาสนา โดยใช้ธรรมะและหัวใจของความเป็นมนุษย์ในการมอง เพื่อให้เกิดการตั้งคำถามและการแสวงหาคำตอบในช่วงเวลาที่ระบอบอำนาจนิยมได้เข้าปกคลุมอีกครั้ง
สารบัญ
- ประชาธิปไตยเกิดแก่เจ็บตาย
- คำขอโทษประชาชน
- การเมืองดีชั่ว
- ทำดีเพื่อ..
- ตัณหาทางการเมือง
- เข้าใจคนอื่น
- สันติภาพบนความขัดแย้ง
- พลังซื้อ
- จิตวิญญาณการปลดปล่อย
- ศีลไม่ละเมิดสิทธิ
- เป็นปากเป็นเสียง
ฯลฯ
คำนิยม
หนังสือเล่มนี้ถูกพิมพ์เผยแพร่ในภาษาไทยมาก่อนหน้านี้กว่าสิบปีแล้ว ชาวพุทธไทยควรถูกท้าทายให้คิดถึงความคับแคบ ไร้จิตสำนึกถึงความทุกข์ของคนอื่นในศีลธรรมของพุทธศาสนาแบบไทย อาจนำไปสู่คำตอบ David Loy ถามถึง และอาจเป็นแรงขวางกั้นมิให้เกิดขบวนการ "คนดี" ที่ทำลายประชาธิปไตยเพื่อเข้าถึงอำนาจในระบอบเผด็จการทหาร "คนดี" ที่อ้างความดีซึ่งไม่มีบริบท เข้าไม่ถึงความทุกข์ของมนุษย์ มีตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่เคารพคนอื่น อย่างที่เสนอหน้าให้เห็นกันดาษดื่นในทุกวันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า พุทธศาสนาที่เป็นทางการแบบไทยมีส่วนนำเรามาสู่ความอับจนทางการเมืองในขณะนี้ด้วย
-- นิธิ เอียวศรีวงศ์ --