เสียดินแดนมลายู : ประวัติศาสตร์ชาติฉบับ Plot Twist
ลด 23%
฿199 ฿260
ประเภทหนังสือ :
อีบุ๊ก
ผู้แต่ง : ฐนพงศ์ ลือขจรชัย
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
ISBN : 9789740216483
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 290
ขนาดไฟล์ : 24.95 MB
ผู้แต่ง : ฐนพงศ์ ลือขจรชัย
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
ISBN : 9789740216483
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 290
ขนาดไฟล์ : 24.95 MB
การเสียดินแดนมลายูในประวัติศาสตร์ชาติแบบพล็อตเรื่องหลัก ถูกอธิบายไว้ด้วยความเจ็บช้ำและสูญเสียของคนทั้งประเทศ แต่แท้ที่จริงแล้ว "เราเสียดินแดน" จริงหรือ? พระราชดำรัสของ "รัชกาลที่ 5" ที่ทรงมีในที่ประชุมเสนาบดีว่า "ราคาของหัวเมืองแขกก็จะตกต่ำลงไปทุกที จึงเห็นว่าแลกเปลี่ยนกันเสียเวลานี้ดีกว่า" สะท้อนให้เห็นว่า ดินแดนมลายูที่ชื่อ กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส สยามเป็นผู้ยกให้อังกฤษเอง เพื่อแลกเปลี่ยนกับการยกเลิกสนธิสัญญาลับระหว่างสยามและอังกฤษ และแลกกับเงินกู้สร้างทางรถไฟสายใต้ของสยาม ดินแดนมลายูที่หายไปจึงมิใช่ "การเสียดินแดน" แต่เป็น "การแลกดินแดน" กับผลประโยชน์ ความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจของสยาม "การเสียดินแดนมลายู" จึงไม่สามารถรับรู้ด้วยความเข้าใจแบบเดิม ๆ ได้อีกต่อไป เพราะพล็อตเรื่องของประวัติศาสตร์ชาติกระแสหลัก ได้ถูกอธิบายใหม่ เล่าใหม่ ด้วยความเข้าใจ จนเกิดเป็นประวัติศาสตร์ชาติพล็อตเรื่องใหม่ที่หักมุม พาผู้อ่านออกจากพล็อตประวัติศาสตร์ชาติกระแสหลักที่สอนให้เราหลงใหลงมงายกับ "การเสียดินแดน"
สารบัญ
1. รัฐจารีตสยามสู่ระเบียบโลกใหม่
- การปกครองของสยามช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
- การปกครองแบบสยามต่อดินแดนแบบรัฐจารีต
- มุมมองของสยามต่อดินแดนแบบรัฐจารีต
ฯลฯ
2. การเจรจาสนธิสัญญา ค.ศ.1909 ระหว่างสยามกับอังกฤษ
- สนธิสัญญา ค.ศ.1909 : เหตุและผลของสยาม ในการการแลกดินแดนมลายู
- เสียเกียรติ ดูหมิ่น และ หัวขโมย อารมณ์ความรู้ ของบุคคลของบุคคลร่วมสมัยที่มีต่อสนธิสัญญา ค.ศ.1909
3. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจรจาในสนธิสัญญา ค.ศ.1909 ระหว่างสยามกับอังกฤษ (1)
- คนไทย ที่เพิ่งสร้าง : ความเป็นมาของชาติ และชาติพันธุ์ (Nationhood and Ethnicity)
- ประวัติศาสตร์สร้างชาติ : การอ้างตัวเป็น รัฐสืบทอด (Successor State) ของสยาม
- เศรษกิจและการปกครองในดินแดนมลายู ตั้แต่ง ค.ศ.1790-1909
4. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจรจาในสนธิสัญญา ค.ศ.1909 ระหว่างสยามกับอังกฤษ (2)
- เสด็จประพาส สร้างประเทศ ว่าด้วยการสร้าง ภาพลักษณ์ความเป็นอารยะของสยาม
- ราชสีห์อังกฤษคำราม : นโยบายจักรวรรดินิยม ของอังกฤษต่อดินแดนมลายู