ผลกระทบของความแตกต่างระหว่างมาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร ที่ต้องปรับปรุงกำไรสุทธิ
ลด 30%
฿630 ฿900
ประเภทหนังสือ :
อีบุ๊ก
ปีที่พิมพ์ : 2561
ผู้แต่ง : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร
สำนักพิมพ์ : DHARMNITI
ISBN : 976-616-302-141-0
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 972
ขนาดไฟล์ : 15.69 MB
ปีที่พิมพ์ : 2561
ผู้แต่ง : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร
สำนักพิมพ์ : DHARMNITI
ISBN : 976-616-302-141-0
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 972
ขนาดไฟล์ : 15.69 MB
"ผลกระทบของความแตกต่างระหว่างมาตรฐานการบัญชีกับภาษีอากรที่ต้องปรับปรุงกำไรสุทธิ(บวกกลับ)"
- ในการจัดทำบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องจัดทำตามมาตรฐานการบัญชีกำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรให้ถูกต้องอีกด้วย ...แทบทุกกิจการมักจะประสบปัญหาความแตกต่างการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี กับ ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร หากกิจการพบความแตกต่างดังกล่าวจะต้องนำไปปรับปรุงกำไรสุทธิ (บวกกลับ) เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ...ในทางกลับกันหากไม่ทราบความแตกต่างดังกล่าว ทำให้กิจการไม่ได้บวกกลับ ทำให้กิจการเสียภาษีอากรไม่ครบถ้วนไม่ถูกต้อง อาจจะต้องเสียเบี้ยปรับและเงินได้เพิ่มได้...เป็นหนังสือที่ต้องมีทุกกิจการ
คำนำ
บริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) หรือกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) หรือกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMAs) ตามมาตรฐานการบัญชีแต่ละประเภทกิจการในขณะเดียวกันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรอีกด้วย ปัญหาในการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีมีหลายประเด็นที่มีแนวปฏิบัติแตกต่างกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ที่นักบัญชีผู้บริหาร ต้องนำความแตกต่างเหล่านั้นมาปรับปรุงกำไรสุทธิ (บวกกลับ) ซึ่งจะมีผลทำให้กำไรสุทธิของกิจการเพิ่มขึ้น เสียภาษีเพิ่มขึ้น จึงทำให้ต้องทราบถึงความแตกต่างระหว่างมาตรฐานการบัญชีกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเพื่อให้กิจการเสียภาษีได้ครบถ้วนถูกต้องไม่เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
หนังสือ “ผลกระทบของความแตกต่างระหว่างมาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากรที่ต้องปรับปรุงกำไรสุทธิ (บวกกลับ)” ได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งได้มีการปรับปรุงใหม่ทั้งเล่ม พร้อม Update หลักเกณฑ์ตามมาตรฐานการบัญชีและภาษีอากรใหม่อีกด้วย พร้อมตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของมาตรฐานการบัญชีกับภาษีอากร เพื่อสะดวกต่อการปรับปรุงกำไรสุทธิ (บวกกลับ) ให้ถูกต้องและครบถ้วน
สมเดช โรจน์คุรีเสถียร
มีนาคม 2561
Chapter 1 ผลกระทบของความแตกต่างระหว่างมาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร
Chapter 2 กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน
Chapter 3 การนำเสนองบการเงิน
Chapter 4 รายได้
Chapter 5 สินค้าคงเหลือ
Chapter 6 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเงินตราต่างประเทศ
Chapter 7 ผลกระทบความแตกต่างของ “สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ”
Chapter 8 ผลกระทบความแตกต่างของ “นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด” ตามมาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร
Chapter 9 ผลกระทบความแตกต่างของ “หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ” ตามาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร
Chapter 10 ผลกระทบความแตกต่างของ “อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน” ตามาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร
Chapter 11 ผลกระทบความแตกต่างของ “ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์” ตามมาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร
Chapter 12 ผลกระทบความแตกต่างของ “สินทรัพย์ไม่มีตัวตน” ตามมาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร
Chapter 13 ผลกระทบความแตกต่างของ “ต้นทุนการกู้ยืม” ตามาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร
Chapter 14 ผลกระทบความแตกต่างของ “การด้อยค่าของสินทรัพย์” ตามมาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร
Chapter 15 ผลกระทบความแตกต่างของ “ประมาณหารหนี้สิน” ตามมาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร
Chapter 16 ผลกระทบความแตกต่างของ “สัญญาเช่า (Leasing)” ตามมาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร
Chapter 17 ผลกระทบความแตกต่างของ “ผลประโยชน์ของเจ้าพนักงาน” ตามมาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร
Chapter 18 ผลกระทบความแตกต่างของ “กำไรต่อหุ้น” ตามมาตรฐานการบัญชี TFRS กับภาษีอากร